ข้อสอบวิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต การบริหารการศึกษา ปีการศึกษา 2551
ผศ.สมคิด ดวงจักร ผู้ออกข้อสอบ
1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอน ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ
ข้าพเจ้าสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรได้ ดังนี้
- สารสนเทศด้านบุคลากร เกี่ยวกับข้อมูลประวัติบุคลากร ข้อมูลสถิติอัตรากำลัง จำนวนบุคลากร
- สารสนเทศด้านงบประมาณ ได้แก่ เงินงบประมาณจัดสรรอุปกรณ์การเรียน เสื้อผ้านักเรียน หนังสือเรียนตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี การจัดระบบงบประมาณที่โรงเรียนได้รับในแต่ละปีการศึกษา การสรุปและติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ
- สารสนเทศด้านพัสดุครุภัณฑ์ ได้แก่ ทะเบียนทรัพย์สินของโรงเรียน อาคารและสิ่งปลูกสร้าง การจัดซื้อจัดจ้าง พัสดุรายหัวนักเรียนประจำปี รายงานครุภัณฑ์
- สารสนเทศด้านการเงิน ได้แก่ รายได้ของสถานศึกษา เงินเดือนของบุคลากร เงินสวัสดิการต่าง ๆ ค่าเช่าบ้าน เงินอาหารกลางวัน
- สารสนเทศด้านการจัดการศึกษา ได้แก่จำนวนนักเรียนแยกตามระดับชั้น งานแนะแนว จำนวนนักเรียนย้ายเข้า ย้ายออก ข้อมูล 10 มิ.ย. หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่น
- สารสนเทศด้านกลไกประกันคุณภาพ ได้แก่ ข้อมูล sar ข้อมูลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา การประเมินของ สมศ.
- สารสนเทศด้านงานสารบรรณ ได้แก่ การรับ-ส่งหนังสือโต้ตอบกับหน่วยงานต่าง ๆ
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นคำอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการาจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน พัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนาประเทศสู่สังคมฐานความรู้และวัฒนธรรม
1. พัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการพัฒนาคนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้มีทักษะและคุณภาพตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนพัฒนาอาจารย์ด้าน ICT ในสถาบันการศึกษาให้สามารถพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องและสามารถทำวิจัยและพัฒนาในสาขา ICT ขั้นสูง และการพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติในภาคอุตสาหกรรมอยู่ในปัจจุบันให้มีทักษะและศักยภาพสูงขึ้น
2. การพัฒนาบุคลากรในสาขาอื่น ๆ และบุคคลทั่วไป ประกอบด้วยส่งเสริมให้มีการนำเครื่องมือในการเรียนการสอนในการศึกษาในระบบมากขึ้น โดยพัฒนาทักษะด้าน ICT ให้แก่ครู ควบคู่ไปกับการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาโดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือ ส่งเสริมการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาการเรียนรู้ ICT นอกสถาบันการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาทักษะ ICT แก่แรงานในสถานประกอบการ พัฒนาความรู้และทักษะ ICT แก่บุคลากรภาครัฐ
3. มาตรการสนับสนุนอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาคนในวงกว้าง เช่น การพัฒนาระบบฐานข้อมูลคนด้าน ICT ของประเทศประกอบการวางแผนด้านการพัฒนากำลังคน ส่งเสริมการใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมการแปลหนังสือที่มีประโยชน์จากต่างประเทศเป็นภาษาไทยและเผยแพร่หลากหลายช่องทาง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการและการกำกับดูแล กลไกและกระบวนการในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ โดยมีมาตรการ 4 กลุ่ม
1. ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารและการจัดการ ICT ระดับชาติ เพื่อให้มีหน่วยงานกลาง
ภายในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการกำกับดูแลและผลักดันแผนแม่บทไปสู่การปฏิบัติ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยงาน
2. ปรับปรุงกระบวนการจัดทำ/เสนองบประมาณ และกระบวนการพิจารณาจัดสรรงบประมาณด้าน ICT ของรัฐ เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
3. พัฒนาหรือปรับปรุงกฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึงกลไกการบังคับใช้กฎหมาย/กฎระเบียบเพ่อให้เอื้อต่อการใช้ ICT และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
4. ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลตัวชี้วัดสถานภาพการพัฒนา ICT ของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและการสื่อสารให้มีการกระจายอย่างทั่วถึงไปสู่ประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อให้สังคมมีความสงบสุข ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีมาตรการที่สำคัญ 4 กลุ่ม
1. ขยายประเภทบริการ เพิ่มพื้นที่ให้บริการ และปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงข่ายโทรคมนาคม
2. เร่งรัดการสร้างความมั่นคงของระบบสารสนเทศ สร้างความรู้ความเข้าใจถึงภัยอันตรายและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขอย่างเหมาะสม
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน ที่เป็นประโยชน์แก่การศึกษา การงานอาชีพ สุขภาพและสาธารณสุขของชุมชน
4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำหรับบริการภาคสังคมที่สำคัญต่อความปลอดภัยสาธารณะและคุณภาพของประชาชน
5. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงข่ายและทรัพยากร โดยจัดทำฐานข้อมูลโครงข่ายในประเทศ เพื่อนำมาประกอบในการกำหนดพื้นที่สำหรับบริการอย่างทั่วถึง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหาร และการบริการของรัฐ โดยมีมาตรการสำคัญประกอบด้วย
1. สร้างความเข้มแข็งของหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการกำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติและมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบบูรณาการ
2. ให้ทุกระทรวงดำเนินการเพื่อพัฒนาบริการอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐแบบบูรณาการ
3. สร้างความเข้มแข็งด้าน ICT แก่หน่วยงานของรัฐในภูมิภาคในระดับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจัดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบุคลากรที่รรับิดชอบงานด้าน ICT
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถมนการแข่งขันของผู้ประกอบการ ICT ไทย โดยมีมาตรการที่สำคัญดังนี้
1. การสนับสนุนด้านเงินทุน เงินช่วยเหลือเพื่อส่งเริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่
2. การยกระดับสินค้าและบริการ ICT ไทยสู่ระดับสากล
3. การสร้างโอกาสทางการตลาดและโอกาสในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการไทยเพื่อส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มผู้ประกอบการภาคเอกชน
4. การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม ICT ทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ เพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรม ICT ในภูมิภาคต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมภาคการผลิตของประเทศให้เข้าถึง ICT ไปสู่การผลิต การค้าสินค้า และบริการโดยมีมาตรการสำคัญ ดังนี้
1. สร้างความตระหนักและพัฒนาขีดความสามารถด้าน ICT ของผู้ประกอบการ
2. เสริมสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
3. ส่งเสริมการนำ ICT มาใช้ในภาคการผลิตและการบริการที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ
4. ยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน
5. ส่งเสริมการนำ ICT มาใช้ในมาตรการประหยัดพลังงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับองค์กรและประเทศอย่างยั่งยืน
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอธิบายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ในประเด็นต่อไปนี้
ในหมวดที่ 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบหรือล่วงรู้ซึ่งระบบ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการการเข้าถึงโดยเฉพาะมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ผู้ใดกระทำการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลของผู้อื่นที่อยู่ในระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ส่งข้อมูลโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของข้อมูลต่าง ๆอันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ การนำข้อมูลลักษณะลามก เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าผู้เสียหายตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์แทนได้ ซึ่งบุคคลที่กระทำการเสียหายดังที่กล่าวมา ต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด